องค์ประกอบที่ ๒ การเรียนการสอน

ตัวบ่งชี้ที่ ๒.๑  มีระบบและกลไกการพัฒนาและการบริหารหลักสูตร

ชนิดของตัวบ่งชี้ : กระบวนการ

เกณฑ์มาตรฐาน : ระดับ

      ๑.  มีระบบและกลไกการเปิดและปิดหลักสูตร 
      ๒. มีการกำหนดเป้าหมายการผลิตบัณฑิตทุกหลักสูตรในแผนการผลิตบัณฑิต 
      ๓. มีการเตรียมความพร้อมก่อนการเปิดหลักสูตรใหม่และการปรับปรุงหลักสูตร ให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรทุกเรื่อง 
      ๔. มีการวิเคราะห์ข้อมูลการดำเนินการทุกหลักสูตรประจำปีการศึกษา เช่น ร้อยละของหลักสูตรที่ไม่เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน ร้อยละของบทความจากวิทยานิพนธ์ที่ตีพิมพ์เผยแพร่ ร้อยละของบัณฑิตที่ทำงานตรงสาขาวิชา 
      ๕. มีการนำผลการวิเคราะห์ข้อมูลการดำเนินการหลักสูตรประจำปีการศึกษาไปปรับปรุงหลักสูตรและหรือปรับปรุงระบบและกลไกการบริหารหลักสูตร 
      ๖. หลักสูตรที่เปิดสอนทุกหลักสูตรได้มาตรฐานตามเกณฑ์มาตรฐานทุกเรื่อง และมีการประกันคุณภาพหลักสูตรครบทุกประเด็นตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร 
      ๗. หลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษาที่เน้นการวิจัย (ปริญญาโท เฉพาะแผน (ก) และ ปริญญาเอก) ที่เปิดสอนมีจำนวนมากกว่าร้อยละ ๕๐ ของจำนวนหลักสูตรทั้งหมด

เกณฑ์การประเมิน

คะแนน ๑
คะแนน ๒
คะแนน ๓
มีการดำเนินการ
ไม่ครบ ๕ ข้อแรก
มีการดำเนินการ
๕ ข้อแรก
มีการดำเนินการ
ครบ ๖ ข้อแรก

ผลการดำเนินงาน

.  มีระบบและกลไกการเปิดและปิดหลักสูตร
      วิทยาลัยสงฆ์เลยมีระบบและกลไกในการพัฒนาบริหารหลักสูตรให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน หลักสูตรโดยได้คำนึงถึงวิสัยทัศน์  พันธกิจ  และความต้องการของสังคม ตลอดจนถึงคุณภาพและมาตรฐานในการจัดการเรียนการสอนจึงได้จัดทำคู่มือการจัดทำแผนกลยุทธ์  ประจำมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย  วิทยาลัยสงฆ์เลย ระยะที่ ๑๐ (พ.ศ.๒๕๕๐ -๒๕๕๔) ขึ้น เพื่อจะได้ดำเนินงานตามแผนและเป้าหมายที่วางไว้  และวิทยาลัยสงฆ์เลยยังได้จัดส่งข้อมูล  “แผนพัฒนามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย  ในช่วงแผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษาระยะที่  ๑๐  (๒๕๕๐ -  ๒๕๕๔)  การบริการวิชาการและการผลิตบัณฑิต”  ส่วนงานวิทยาลัยสงฆ์เลย ไปให้แก่มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยส่วนกลางอีกด้วย  ซึ่งรายละเอียดแผนดังกล่าวได้แนบท้ายไว้หลังบันทึกข้อความ  ตามเอกสารหลักฐานที่ยื่นมาประกอบการพิจารณาในเกณฑ์มาตรฐานนี้  (หลักฐาน ๒.๑.๑- ถึง -๒)

.  มีการกำหนดเป้าหมายการผลิตบัณฑิตทุกหลักสูตรในแผนการผลิตบัณฑิต
      วิทยาลัยสงฆ์เลย ได้กำหนดเป้าหมายการผลิตบัณฑิตทุกหลักสูตรในคู่มือแผนกลยุทธ์ ระยะที่ ๑๐  (๒๕๕๐-๒๕๕๔)  ส่วนที่ ๒   ว่าด้วยเรื่อง  นโยบาย/มาตรการและเป้าหมาย ระยะที่๑๐ (๒๕๕๐-๒๕๕๔)  ผลผลิตที่ ๑  : ผู้สำเร็จการศึกษาด้านสังคมศาสตร์ (การผลิตบัณฑิต)  (หลักฐาน ๒.๑.๒-๑ )

. มีการเตรียมความพร้อมก่อนการเปิดหลักสูตรใหม่และการปรับปรุงหลักสูตร ให้เป็นไปตามเกณฑ์
มาตรฐานหลักสูตรทุกเรื่อง

      วิทยาลัยสงฆ์เลยได้จัดการประชุมดำเนินการตามระบบกลไก  และขบวนการขอเปิดหลักสูตรใหม่โดยได้เสนอเข้าสู่คณะกรรมการประจำวิทยาลัยสงฆ์เลยเพื่อขออนุมัติการเปิดหลักสูตรใหม่เพื่อจะได้นำมติที่ประชุมเสนอต่อคณะกรรมประจำวิทยาเขตขอนแก่นเป็นลำดับต่อไป  ในปีการศึกษา  ๒๕๕๐  วิทยาลัยสงฆ์เลยได้ขออนุมัติเปิดหลักสูตรใหม่  ๒  หลักสูตร  คือ  หลักสูตรพุทธศาสตรบัณฑิต  สาขาวิชา  รัฐศาสตร์  วิชาเอกการเมืองการปกครอง  (สำหรับคฤหัสถ์)  และสาขาวิชา  พระพุทธศาสนา (สำหรับคฤหัสถ์)  ต่อคณะกรรมการประจำวิทยาลัยสงฆ์เลย  แต่สาขาวิชา  พระพุทธศาสนา (สำหรับคฤหัสถ์ ) วิทยาลัยสงฆ์เลยไม่ได้นำเข้าเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมประจำวิทยาเขตขอนแก่นเพื่อดำเนินการต่อไปด้วยสาเหตุความไม่พร้อมด้านกายภาพของวิทยาลัยสงฆ์เลยจึงเป็นอันตกไป  คงเหลือแต่สาขาวิชารัฐศาสตร์  วิชาเอกการเมืองการปกครอง  (สำหรับคฤหัสถ์) เท่านั้น  ดังมีประกาศมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย  เรื่อง  อนุมัติเปิดสอนหลักสูตรพุทธศาสตรบัณฑิต  สาขาวิชา  รัฐศาสตร์  วิชาเอกการปกครอง  (สำหรับคฤหัสถ์)  วิทยาลัยสงฆ์เลย  ประกาศ  ณ  วันที่  ๑๔  พฤษภาคม  พุทธศักราช  ๒๕๕๐ (หลักฐาน ๒.๑.๓-๑ ถึง -๖)
ในปีการศึกษา ๒๕๕๑  วิทยาลัยสงฆ์เลยได้ขออนุมัติเปิดหลักสูตรประกาศนียบัณฑิตวิชาชีพครู ต่อคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย  และได้รับอนุมัติหลักสูตรให้ดำเนินเปิดการเรียนการสอนตามระเบียบของมหาวิทยาลัย (หลักฐาน ๒.๑.๓-๗ ถึง  -๘)

. มีการวิเคราะห์ข้อมูลการดำเนินการทุกหลักสูตรประจำปีการศึกษา เช่น ร้อยละของ
หลักสูตรที่ไม่เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน ร้อยละของบทความจากวิทยานิพนธ์ที่ตีพิมพ์เผยแพร่ ร้อยละของบัณฑิตที่ทำงานตรงสาขาวิชา

      วิทยาลัยสงฆ์เลยด้ทำการวิจัย  เรื่อง  การติดตามการปฏิบัติงานของบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์เลย  รุ่นที่ ๕๓  ปีการศึกษา  ๒๕๕๑     ในด้านการวิเคราะห์ข้อมูล  และร้อยละของบัณฑิตที่ทำงานตรงสาขาวิชาตามรายงานการวิจัยนั้นซึ่งปรากฏในบทที่ ๔ ผลการศึกษาและบทที่ ๕  สรุปอภิปรายและข้อเสนอแนะ (หลักฐาน ๒.๑.๔-๑)

. มีการนำผลการวิเคราะห์ข้อมูลการดำเนินการหลักสูตรประจำปีการศึกษาไปปรับปรุงหลักสูตรและหรือปรับปรุงระบบและกลไกการบริหารหลักสูตร
      วิทยาลัยสงฆ์เลยได้จัดการเรียนการสอนอิงตามหลักสูตรของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยทุกหลักสูตรจึงไม่ได้วิเคราะห์หลักสูตรไว้เอง  เอกสารหลักฐานในเกณฑ์มาตรฐานนี้วิทยาลัยสงฆ์เลยจึงอ้างอิงตามการปรับโครงสร้างหลักสูตรใหม่ของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย  โดยเริ่มปรับตั้งแต่  พ.ศ.  ๒๕๔๘  เสร็จสิ้นและอนุมัติให้ใช้หลักสูตรนี้ในปีการศึกษา  ๒๕๕๐  การปรับหลักสูตรครั้งนี้เพื่อให้มีความเหมาะสมสอดรับกับความต้องการของสังคมยิ่งขึ้น  โดยได้วิเคราะห์ปรับปรุงหลักสูตรตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ  เรื่อง  เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับปริญญาตรี  พ.ศ.  ๒๕๔๘  โดยแต่งตั้งคณะผู้ทำงานและคณะกรรมการศึกษาวิเคราะห์ปรับปรุงหลักสูตรหมวดวิชาศึกษาทั่วไป  และหมวดวิชาแกนพระพุทธศาสนา  และวิชาบังคับแต่ละสาขาวิชาของทุกคณะ  รวมหลักสูตร  ทั้ง  ๔  คณะ  มีจำนวน  ๒๙  สาขาวิชา(หลักฐาน  ๒.๑.๕-๑)  นอกจากนี้วิทยาลัยสงฆ์เลยยังทำวิจัยเพื่อศึกษาสภาพปัญหาและความคิดเห็นของนิสิตต่อการจัดการเรียนการสอนเพื่อนำมาปรับปรุงการบริหารงานวิทยาลัยสงฆ์เลยต่อไป (หลักฐาน ๒.๑.๕-๒)

. หลักสูตรที่เปิดสอนทุกหลักสูตรได้มาตรฐานตามเกณฑ์มาตรฐานทุกเรื่อง และมีการประกันคุณภาพหลักสูตรครบทุกประเด็นตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร
      วิทยาลัยสงฆ์เลยได้อิงอาศัยหลักสูตรตามมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยเกี่ยวกับการเรียนการสอนทุกหลักสูตร และในปีการศึกษา  ๒๕๕๐  คณะกรรมการของ  สกอ.  ได้ทำการประเมินคุณภาพการศึกษามหาวิทยาลัยด้านหลักสูตรและการเรียนการสอน  อยู่ในองค์ประกอบที่ ๒   (หลักฐาน ๒.๑.๖-๑ ถึง -๒)

. หลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษาที่เน้นการวิจัย (ปริญญาโท เฉพาะแผน(ก ) และปริญญาเอก) ที่เปิดสอนมีจำนวนมากกว่าร้อยละ ๕๐ ของจำนวนหลักสูตรทั้งหมด
      - วิทยาลัยสงฆ์เลยยังไม่มีหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา  จึงไม่ได้ประเมินตนเอง

การบรรลุเป้าหมาย

      สำหรับตัวบ่งชี้ที่ ๒.๑ มีระบบและกลไกการพัฒนาและการบริหารหลักสูตร วิทยาลัยสงฆ์เลยได้ดำเนินการตามเกณฑ์มาตรฐานข้อ  ๑-๖  บรรลุเป้าหมายเพราะกำหนดไว้ที่ระดับ  ๕    ตามเกณฑ์มาตรฐาน ของ สกอ. 

การประเมินตนเอง

คะแนนอิงเกณฑ์การประเมินตัวบ่งชี้ สกอ.

การบรรลุเป้าหมายของส่วนงาน

๓  คะแนน

บรรลุเป้าหมาย 

รายการเอกสาร/หลักฐานประกอบ

๒.๑.๑-๑ แผนกลยุทธ์วิทยาลัยสงฆ์เลย ระยะที่ ๑๐ (๒๕๕๐-๒๕๕๔) 
๒.๑.๓-๑ ระเบียบวาระการประชุม บันทึกข้อความ ที่ ศธ.๖๑๒๔/๑๑๑ เรื่อง เสนอเพื่อพิจารณา  
๒.๑.๑-๒ บันทึกข้อความเข้า  จากกองแผนงาน สำนักงานอธิการบดี เรื่อง ขอรายละเอียดข้อมูลเพื่อประกอบการจัดทำแผนพัฒนามหาวิทยาลัย ระยะที่ ๑๐ ลงวันที่ ๑๕ ตุลาคม ๒๕๕๐
๒.๑.๒-๑ แผนกลยุทธ์วิทยาลัยสงฆ์เลย ระยะที่ ๑๐ (๒๕๕๐-๒๕๕๔) ว่าด้วยเรื่อง นโยบาย/มาตรการและเป้าหมาย ระยะที่๑๐ (๒๕๕๐-๒๕๕๔) พันธกิจที่ ๑ : การผลิตบัณฑิต (หน้า ๑๐-๑๙)
  ข้อ ๔.๓  เรื่อง  การขออนุมัติโครงการเปิดหลักสูตรพุทธศาสตรบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์
วิชาเอกการเมืองการปกครอง  (สำหรับคฤหัสถ์) ต่อคณะกรรมการประจำวิทยาลัยสงฆ์เลย     
๒.๑.๓-๒ บันทึกข้อความระเบียบวาระการประชุม ที่ ศธ  ๖๑๒๔/ ๑๑๑ วันที่  ๑๖  ตุลาคม ๒๕๔๙ 
เรื่อง  นัดประชุมคณะกรรมการประจำวิทยาลัยสงฆ์เลย
๒.๑.๓-๓  รายงานการประชุมคณะกรรมการประจำวิทยาลัยสงฆ์เลย  ครั้งที่ ๓/๒๕๔๙ วันที่ ๒๐
ตุลาคม ๒๕๔๙    
๒.๑.๓-๔ เอกสารการประชุมสภาวิชาการ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ครั้งที่ ๖ /๒๕๕๐ วันศุกร์ที่ ๑๑ พฤษภาคม ๒๕๕๐  วาระที่ ๔  เรื่องเสนอเพื่อพิจารณา (หน้า  ๔๐-๔๑)
๒.๑.๓-๕ ประกาศมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เรื่อง อนุมัติเปิดสอนหลักสูตรพุทธศาสตรบัณฑิต  สาขาวิชารัฐศาสตร์  วิชาเอกการปกครอง (สำหรับคฤหัสถ์)วิทยาลัยสงฆ์เลย ประกาศ ณ วันที่ ๑๔ พฤษภาคม  พุทธศักราช ๒๕๕๐ 
๒.๑.๓-๖ โครงการเปิดหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู
๒.๑.๔-๑ รายงานการวิจัยเรื่อง การติดตามผลการปฏิบัติงานของบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาจากวิทยาลัย          
สงฆ์เลย รุ่นที่ ๕๓ ปี ๒๕๕๑  โดย พระไพรเวศน์  จิตฺตทนฺโต  พระมหาสังเวช  จนฺทโสภี  นายธงชัย  สิงอุดม   และนายประสงค์  หัสรินทร์
๒.๑.๕-๑  หลักสูตรพุทธศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย พุทธศักราช ๒๕๕๐ 
๒.๑.๕-๒ รายงานการวิจัยเรื่องสภาพปัญหาและความคิดเห็นของนิสิตต่อการจัดการเรียนการสอนของ
วิทยาลัยสงฆ์เลยเลย โดย พระไพรเวศน์  จิตฺตทนฺโต  พระมหาสังเวช จนฺทโสภี  นายธงชัย
สิงอุดม  และนายประสงค์ หัสรินทร์ คณะผู้วิจัย
๒.๑.๖-๑ รายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
วิทยาเขตขอนแก่น วิทยาลัยสงฆ์เลย ประจำปีการศึกษา ๒๕๔๙  (๑  มิถุนายน  ๒๕๔๙ –
๓๑ พฤษภาคม ๒๕๕๐) (หน้า ๑๖)
๒.๑.๖-๒ รายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน   มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
วิทยาลัยสงฆ์เลย ประจำปีการศึกษา ๒๕๕๐ (๑ – ๓ กันยายน  ๒๕๕๑)


Go to Top