[x] ปิดหน้าต่างนี้
Powered by ATOMYMAXSITE 2.5
ยินดีต้อนรับคุณ บุคคลทั่วไป  
ค้นหา   
เมนูหลัก
ระบบสมาชิก
Username :
Password :
[ สมัครสมาชิก ] | [ ลืมรหัสผ่าน ]
สมาชิกทั้งหมด 78 คน
สมาชิกที่กำลังออนไลน์ 0 คน

  
ประวัติวิทยาลัยสงฆ์เลย  
 


ประวัติความเป็นมาของ มจร.วิทยาลัยสงฆ์เลย
ชื่อหน่วยงาน : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยวิทยาลัยสงฆ์เลย
สังกัด : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยวิทยาเขตขอนแก่น
ที่ตั้ง : เลขที่ ๑๑๙ หมู่ ๕ ตำบลศรีสองรัก อำเภอเมือง จังหวัดเลย ๔๒๑๐๐
web : http://loei2.mcu.ac.th
E-mail : mculoei@mcu.ac.th

ประวัติ
            เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2537 พระสุนทรปริยัติเมธี (พรหมมา จนฺทโสภโณ) เจ้าคณะจังหวัดเลยได้ดำเนินการจัดประชุมพระสังฆาธิการระดับเจ้าคณะจังหวัด รองเจ้าคณะจังหวัด เจ้าคณะอำเภอและรองเจ้าคณะอำเภอทุกอำเภอในเขตจังหวัดเลย โดยมีพระครูวิชัยกิจจานุกูล เลขานุการเจ้าคณะจังหวัดเลยและผศ.ดร.ประชารัชต์ โพธิประชา เป็นผู้ประสานงานในการจัดประชุม พระเดชพระคุณพระสุนทรปริยัติเมธีเป็นประธานฝ่ายสงฆ์ นายจินดา ศุภกรรม ศึกษาธิการจังหวัดเลย เป็นประธานฝ่ายฆราวาสบุคลากรที่ได้รับเชิญเข้าร่วมประชุมฝ่ายสงฆ์ จากจังหวัดขอนแก่น คือ พระครูปริยัติสารเมธี รองคณบดี คณะครุศาสตร์วิทยาเขตขอนแก่น นายอุดร จันทวัน และคณาจารย์เจ้าหน้าที่จากสถาบันราชภัฎเลย มี ผศ.บุญช่วย ศิริเกษ รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร(ยศและตำแหน่งขณะนั้น) อาจารย์วัชระ ผ่านพรม คณะบดีคณะครุศาสตร์ และอาจารย์คำหมุน ผศ.ดร.เอกฉัท จารุเมธีชน มติในที่ประชุมเห็นเป็นเอกฉันท์ว่า “ให้สภาสงฆ์เลย จัดการศึกษาระดับบาลีอุดมศึกษาขึ้น ณ วัดศรีวิชัยวนาราม ตำบลกุดป่อง อำเภอเมือง จังหวัดเลย            เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2537 ที่ี่ประชุมเห็นชอบในโครงการจัดการศึกษาระดับบาลีอุดมศึกษาและ ได้เสนอเพิ่มเติมเกี่ยวกับกองทุนบริหารการศึกษา จำนวน 3 ล้านบาท โดยความอนุเคราะห์ของพระครูภาวนาวิสุทธิญาณ (หลวงพ่อพระมหาพันธ์ วิสุทฺธิญาโณ) วัดเนรมิตวิปัสสนารองเจ้าอำเภอด่านซ้าย เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2537 คณะกรรมการดำเนินงานได้นำเสนอโครงการดังกล่าวต่อสภาวิชาการมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ วิทยาเขตขอนแก่น และในคราวที่ประชุม ครั้งที่ 1/2538 วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2538 สภาวิชาการและวิทยาเขตขอนแก่น มีมติเห็นชอบตามเสนอและดำเนินการต่อไป และได้ดำเนินการเสนอต่อสภาวิชาการมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์วัดมหาธาตุฯกรุงเทพฯ
            เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2538 การประชุมครั้งที่ 2/2538 ของสภาวิชาการมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย กรุงเทพฯ มีมติอนุมัติให้สภาสงฆ์เลยจัดการศึกษาระดับบาลีอุดมศึกษาได้ แต่นิสิตจะต้องไปฝากเรียนที่คณะครุศาสตร์ วิทยาเขตขอนแก่นเป็นเบื้องต้นก่อน มีจำนวนนิสิต รุ่นที่ 1 จำนวน 38 รูป ในการประชุมครั้งที่ 2/2539 เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2539 สภามหาวิทยาลัยมีมติอนุมัติ ให้มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น จัดตั้งศูนย์การศึกษาเลยขึ้น ที่วัดศรีวิชัยวนาราม ตำบลกุดป่อง อำเภอเมือง จังหวัดเลย โดยมีพระเดชพระคุณพระสุนทรปริยัติเมธี เป็นผู้ช่วยอธิการบดี ประจำศูนย์การศึกษาจังหวัดเลยรูปแรก
            เมื่อวันที่ ๒๗ สิงหาคม ๒๕๔๑ สภามหาวิทยาลัยมีมติในการประชุมครั้งที่ 8/2541 ให้ยกฐานะศูนย์การศึกษาเลยเป็นวิทยาลัยสงฆ์จังหวัดเลย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อขยายการศึกษาระดับอุดมศึกษาคือ คณะครุศาสตร์ให้ตอบสนองความต้องการของผู้ศึกษา ตามเวลาและโอกาสอันสมควรเพื่อสนองนโยบายของรัฐบาล ในการกระจายโอกาสทางการศึกษาให้ทั่วถึงแก่ผู้ด้อยโอกาส เพื่อเปิดโอกาสให้บุคลากรในท้องถิ่น ได้มีส่วนร่วมดำเนินการศึกษาระดับบาลีอุดมศึกษาในด้านการบริหารงานและวิชาการให้เกิดประโยชน์แก่พระภิกษุสามเณร ในชนบท และสามารถนำความรู้ดังกล่าวไปประยุกต์ใช้ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาได้อย่างพึงประสงค์ และมีประสิทธิภาพ

วัตถุประสงค์

1. เพื่อส่งเสริมการศึกษาค้นคว้าให้เกิดความรู้ความเข้าใจในหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา
2. เพื่อส่งเสริมการประพฤติการปฏิบัติและการเผยแผ่พุทธธรรมในหมู่ประชาชน
3. เพื่อเป็นแหล่งกลางทางวิชาชั้นสูงสำหรับพระภิกษุสามเณรในภูมิภาคนี้
4. เพื่อมิให้พระภิกษุสามเณรในภูมิภาคนี้เข้าไปศึกษาในส่วนกลางมากเกินไป
5. เพื่อสนองนโยบายของรัฐบาลในการกระจายโอกาสบางการศึกษาให้ทั่วถึงแก่ผู้ด้อยโอกาส
6. เพื่อเปิดโอกาส ให้บุคลากรในท้องถิ่นได้มีส่วนร่วมดำเนินการ จัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาในด้าน           บริหารและวิชาการให้เกิดประโยชน์ แก่พระภิกษุสามเณรในเขตชนบท และสามารถนำความรู้ดังกล่าว ไปประยุกต์ใช้ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ได้อย่างมีประสิทธิภาพ


สุภาษิต ปญฺญา โลกสฺสมิ ปชฺโชโต ปัญญาเป็นแสงสว่างในโลก
(พระไตรปิฎกภาษาบาลี ฉบับมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่มที่ ๑๕ ข้อที่ ๘๐ หน้าที่ ๕๑ ฆตฺวาวคฺค)
หมายถึง มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย จะอำนวยแสงสว่างทางปัญญาให้แก่ชาวโลก
ปัญญา แปลว่า ความรู้ตามความเป็นจริง หมายถึง รู้โดยแยกแยะถึงองค์ประกอบของสิ่งนั้นๆ
รู้ถึงสาเหตุปัจจัยและความสัมพันธ์ของสิ่งนั้นกับสิ่งที่อยู่รอบตัวของสิ่งนั้น
การศึกษา คือกระบวนการสร้างปัญญาและคุณธรรม ให้มนุษย์สามารถแก้ไขปัญหาของชีวิต
ได้โดยไม่ถูกบีบคั้นจากปัจจัยภายนอกเริ่มด้วยการใช้ปัญญาพัฒนาชีวิตไป
จนถึงการมีชีวิตที่เป็นอยู่ด้วยปัญญา

คุณลักษณะที่สำคัญของผู้ได้รับการศึกษา คือ
๑. มีปัญญาเจริญขึ้นโดยลำดับ พร้อมกับการสูญสิ้นไปของอวิชชา (ความไม่รู้ตามความเป็นจริง)
๒. มีกรุณาเข้ามาแทนที่ตัณหา ซึ่งจะเป็นสิ่งเร้าให้เกิดการกระทำ(ตามความกรุณา) มากขึ้นโดยลำดับ
ถ้ามีปัญญามากขึ้น

ปรัชญา จัดการศึกษาพระพุทธศาสนา บูรณาการกับศาสตร์สมัยใหม่ พัฒนาจิตใจและสังคม

ปณิธาน ศึกษาพระไตรปิฎกและวิชาชั้นสูง สำหรับพระภิกษุสามเณรและคฤหัสถ์

วิสัยทัศน์ ศูนย์กลางการศึกษาพระพุทธศาสนาระดับนานาชาติ
ที่สร้างคนดีและเก่ง อย่างมีสมรรถภาพ
จัดการศึกษาและวิจัยดีอย่างมีคุณภาพ
บริการวิชาการดีอย่างมีสุขภาพ
บริหารดีอย่างมีประสิทธิภาพ
ผลิตคนดีและเก่ง อย่างมีสมรรถภาพ
ผลิตบัณฑิตและพัฒนาบุคลากรให้เป็นผู้มีปฏิปทาน่าเลื่อมใส ใฝ่รู้ ใฝ่คิด เป็นผู้นำจิตใจและปัญญา มีโลกทัศน์กว้างไกล มีความสามารถในการแก้ปัญหา มีศรัทธาอุทิศตนเพื่อพระพุทธศาสนาและพัฒนาสังคม
จัดการศึกษาและวิจัยดีอย่างมีคุณภาพ
จัดการศึกษาและพัฒนากระบวนการเรียนรู้ โดยบูรณาการวิชาการด้านพระพุทธศาสนาเข้ากับศาสตร์สมัยใหม่ทั้งภาคทฤษฏีและปฏิบัติ ผ่านกระบวนการศึกษา ค้นคว้า วิจัย และการประกันคุณภาพการศึกษา เพื่อก้าวไปสู่ความเป็นเลิศทางวิชาการ และเพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ในการพัฒนา มนุษย์ สังคม และสิ่งแวดล้อม ให้อยู่ร่วมกันได้อย่างสมดุล และสันติสุข
บริการวิชาการดีอย่างมีสุขภาพ
มุ่งมั่นในการให้บริการวิชาการด้านพระพุทธศาสนาแก่คณะสงฆ์และสังคม รวมทั้งส่งเสริมการเรียนรู้ และความร่วมมืออันดีระหว่างพุทธศาสนิกชนในระดับชาติ และนานาชาติ เพื่อธำรงรักษาไว้ซึ่งขนบธรรมเนียมประเพณี ศิลปะ และวัฒนธรรม อันเนื่องด้วยพระพุทธศาสนา
บริหารดีอย่างมีประสิทธิภาพ
มุ่งพัฒนาการบริหารจัดการตามหลักนิติธรรม จริยธรรม ความสำนึกรับผิดชอบ การมีส่วนร่วม ความโปร่งใสตรวจสอบได้ และความคุ้มค่า รวมทั้งสนับสนุน ส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพของบุคลากรเพื่อก้าวไปสู่ความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้อย่างแท้จริง

พันธกิจ ๑. ผลิตบัณฑิต
ผลิตและพัฒนาบัณฑิตให้มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ๙ ประการ คือ
มีปฏิปทาน่าเลื่อมใส ใฝ่รู้ใฝ่คิด เป็นผู้นำด้านจิตใจและปัญญา มีความสามารถในการแก้ปัญหา มีศรัทธาอุทิศตนเพื่อพระพุทธศาสนา รู้จักเสียสละเพื่อส่วนรวม รู้เท่าทันความเปลี่ยนแปลงของสังคม มีโลกทัศน์ กว้างไกล มีศักยภาพที่จะพัฒนาตนเอง ให้เพียบพร้อมด้วยคุณธรรมและจริยธรรม
๒. วิจัยและพัฒนา
การวิจัยและค้นคว้า เพื่อสร้างองค์ความรู้ควบคู่ไปกับกระบวนการเรียนการสอน
เน้นการพัฒนาองค์ความรู้ในพระไตรปิฎก โดยวิธีสหวิทยาการแล้วนำองค์ความรู้ที่ค้นพบมาประยุกต์ใช้แก้ปัญหา ศีลธรรม และจริยธรรมของสังคม รวมทั้งพัฒนา คุณภาพงานวิชาการด้านพระพุทธศาสนา
๓. ส่งเสริมพระพุทธศาสนาและบริการวิชาการแก่สังคม
ส่งเสริมพระพุทธศาสนาและบริการวิชาการแก่สังคม ตามปณิธานการจัดตั้งมหาวิทยาลัย ด้วยการปรับปรุงกิจกรรมต่างๆ ให้ประสานสอดคล้อง เอื้อต่อการส่งเสริม สนับสนุนกิจการคณะสงฆ์ สร้างความรู้ ความเข้าใจหลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา สร้างจิตสำนึกด้านคุณธรรม จริยธรรมแก่ประชาชน จัดประชุม สัมมนา และฝึกอบรม เพื่อพัฒนาพระสงฆ์และบุคลากรทางศาสนา ให้มีศักยภาพในการธำรงรักษา เผยแผ่หลักคำสอน และเป็นแกนหลักในการพัฒนาจิตใจในวงกว้าง
๔. ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
เสริมสร้างและพัฒนาแหล่งการเรียนรู้ด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ให้เอื้อต่อการศึกษา เพื่อสร้างจิตสำนึกและความภาคภูมิใจในความเป็นไทย สนับสนุนให้มีการนำภูมิปัญญาท้องถิ่น มาเป็นรากฐานของการพัฒนาอย่างมีดุลยภาพ

เป้าประสงค์
  • บุคลากรมีความรู้ความสามารถ ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกปัจจุบัน และเป็นผู้นำทางวิชาการด้านพระพุทธศาสนา
  • มหาวิทยาลัยสามารถปฏิบัติภารกิจหลักในด้านการบริหารการจัดการศึกษาการ วิจัยการส่งเสริมพระพุทธศาสนาและการบริการวิชาการแก่สังคมและการทำนุ บำรุงศิลปวัฒนธรรมได้ตามเป้าหมาย
  • สามารถระดมทุนจากแหล่งต่างๆให้มีความเพียงพอต่อการจัดหาและพัฒนา อาคารสถานที่บุคลากรครุภัณฑ์ทางการศึกษาและเทคโนโลยีสารสนเทศ