องค์ประกอบที่ ๗ การบริหารและการจัดการ

ตัวบ่งชี้ที่ ๗.๘ มีการนำระบบบริหารความเสี่ยงมาใช้ในกระบวนการบริหารการศึกษา

ชนิดของตัวบ่งชี้   : กระบวนการ

เกณฑ์มาตรฐาน   : ระดับ 

      ๑. มีการแต่งตั้งคณะกรรมการหรือคณะทำงานบริหารความเสี่ยง โดยมีผู้บริหารระดับสูงและตัวแทนที่รับผิดชอบพันธกิจหลักของมหาวิทยาลัย ร่วมเป็นคณะกรรมการหรือคณะทำงาน โดยผู้บริหารระดับสูงต้องมีบทบาทสำคัญในการกำหนดนโยบาย หรือแนวทางในการบริหารความเสี่ยง 
      ๒. มีการวิเคราะห์และระบุปัจจัยเสี่ยง ที่ส่งผลกระทบหรือสร้างความเสียหายหรือความล้มเหลว หรือลดโอกาสที่จะบรรลุเป้าหมายในการบริหารงาน และจัดลำดับความสำคัญของปัจจัยเสี่ยง 
      ๓. มีการจัดทำแผนบริหารความเสี่ยง โดยแผนดังกล่าวต้องกำหนดมาตรการหรือแผนปฏิบัติการในการสร้างความรู้ ความเข้าใจให้กับบุคลากรทุกระดับ ในด้านการบริหารความเสี่ยง และการดำเนินการแก้ไข ลดหรือป้องกันความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม 
      ๔. มีการดำเนินการตามแผนบริหารความเสี่ยง 
      ๕. มีการสรุปผลการดำเนินงานตามแผนบริหารความเสี่ยง ตลอดจนมีการกำหนดแนวทาง และข้อเสนอแนะในการปรับปรุงแผนบริหารความเสี่ยง โดยได้รับความเห็นชอบจากผู้บริหารสูงสุดของมหาวิทยาลัย

เกณฑ์การประเมิน

                คะแนน ๑
           คะแนน ๒
        คะแนน ๓
มีการดำเนินการ
ไม่ครบ ๓ ข้อแรก
มีการดำเนินการ
๓ – ๔ ข้อแรก
มีการดำเนินการ
ครบทุกข้อ

ผลการดำเนินงาน
       . มีการแต่งตั้งคณะกรรมการหรือคณะทำงานบริหารความเสี่ยง โดยมีผู้บริหารระดับสูงและตัวแทนที่รับผิดชอบพันธกิจหลักของมหาวิทยาลัยร่วมเป็นคณะกรรมการหรือคณะทำงาน โดยผู้บริหารระดับสูงต้องมีบทบาทสำคัญในการกำหนดนโยบายหรือแนวทางในการบริหารความเสี่ยง
       การบริหารความเสี่ยง  ผู้บริหารระดับสูงของวิทยาลัยสงฆ์เลย ได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงวิทยาลัยสงฆ์เลย   เพื่อให้การบริหารเป็นไปด้วยความชอบธรรมตามหลักการบริหารแบบ  ธรรมาภิบาล  (หลักฐาน ๗.๘.๑-๑)   
       . มีการวิเคราะห์และระบุปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผลกระทบหรือสร้างความเสียหายหรือความล้มเหลวหรือลดโอกาสที่จะบรรลุเป้าหมายในการบริหารงาน และจัดลำดับความสำคัญของปัจจัยเสี่ยง
       เพื่อให้วิทยาลัยสงฆ์เลยมีระบบการบริหารความเสี่ยง และควบคุมความเสี่ยงลดมูลเหตุโอกาสที่จะเกิดความเสี่ยงและความเสียหาย  ซึ่งมีผลกระทบต่อการปฏิบัติงาน ในปี ๒๕๕๑ วิทยาลัยสงฆ์เลยมีความเสี่ยงด้านการปฏิบัติงานที่ต้องจัดการเพื่อไม่ให้มีผลกระทบในการบริหาร  (หลักฐาน ๗.๘.๒-๑ ) 
       . มีการจัดทำแผนบริหารความเสี่ยง โดยแผนดังกล่าวต้องกำหนดมาตรการหรือแผนปฏิบัติการในการสร้างความรู้ ความเข้าใจให้กับบุคลากรทุกระดับในด้านการบริหารความเสี่ยง และการดำเนินการแก้ไข ลดหรือป้องกันความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม
       วิทยาลัยสงฆ์เลยได้จัดทำแผนบริหารความเสี่ยงเพื่อลดและป้องกันความเสี่ยงที่เกิดจากการบริหารงาน (หลักฐาน  ๗.๘.๓-๑)
       . มีการดำเนินการตามแผนบริหารความเสี่ยง
              - ไม่ผ่านการประเมิน
       . มีการสรุปผลการดำเนินงานตามแผนบริหารความเสี่ยง ตลอดจนมีการกำหนดแนวทางและข้อเสนอแนะในการปรับปรุงแผนบริหารความเสี่ยงโดยได้รับความเห็นชอบจากผู้บริหารสูงสุดของมหาวิทยาลัย
      
       - ไม่ผ่านการประเมิน

การบรรลุเป้าหมาย

       สำหรับตัวบ่งชี้ที่ ๗.๘ มีการนำระบบบริหารความเสี่ยงมาใช้ในกระบวนการบริหารการศึกษา   วิทยาลัยสงฆ์เลยได้ดำเนินการตามตัวชีวัดได้ระดับ  ๓  บรรลุเป้าหมาย  เพราะกำหนดไว้ที่ระดับ  ๓  ตามเกณฑ์มาตรฐาน ของ สกอ.

การประเมินตนเอง

คะแนนอิงเกณฑ์การประเมินตัวบ่งชี้ สกอ.

การบรรลุเป้าหมายของส่วนงาน

๒  คะแนน

บรรลุเป้าหมาย

รายการเอกสาร/หลักฐานประกอบ

๗.๘.๑-๑ คำสั่งมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์เลย ที่ ๐๐๗/๒๕๕๐
เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงวิทยาลัยสงฆ์เลย  สั่ง ณ วันที่ ๑๐  เดือน
พฤษภาคม ๒๕๕๐
๗.๘.๒-๑ ผลการวิเคราะห์ปัจจัยเสี่ยงของวิทยาลัยสงฆ์เลย ด้านอาคารสถานที่
๗.๘.๓-๑ แผนบริหารความเสี่ยง


Go to Top